อโกรเมด
agromed.co.th
อโกรเมดยาสัตว์
ขายยาสัตว์ ผลิตยาสัตว์ อาหารสัตว์
agromed
ขายยาสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ รูปภาพ ข่าวสารสัตว์ บทความเกี่ยวกับสัตว์ บริษัทอโกรเมด อโกรเมด
agromed
สินค้ายาสัตว์ขายดี
คลีนฟาร์ม
อโกรมิกซ์ พรีสตาร์ทเตอร์ / สตาร์ทเตอร์
โปรไซม์ เอ็กซ์พี
ไซคลอซอล 200 แอล เอ
ท็อกซี่-นิล พลัส ดราย
ยาสัตว์ขายดี
ยาสัตว์
ข่าวยาสัตว์
ผู้เลี้ยงไก่ จี้รัฐปล่อยกู้ 1.5 หมื่นล้าน หลังน้ำมัน-อาหารสัตว์แพง วอนอย่าคุมราคาไข่

          ผู้เลี้ยงไก่ จี้รัฐปล่อยกู้ 1.5 หมื่นล้าน ชี้ภาวะสงคราม น้ำมันแพง ราคาอาหารสัตว์พุ่ง วอนอย่าคุมราคาไข่ เผยที่ผ่านมาขาดทุนหลักพันล้านบาท

          นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยและประธานกรรมการบริหารบริษัทในเครือฉวีวรรณ กรุ๊ป เปิดเผยในการสัมมนา “สงครามบานปลาย ซัพพลายมีปัญหา ทางรอด อยู่ตรงไหน” ว่า ไทยนำเข้าข้าวสาลีจายูเครนถึง 29% จากปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น สงครามที่เกิดขึ้นจึงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแน่นอน การจะหันไปนำเข้าเพิ่มขึ้นจากอินเดีย บราซิล อาเจนตินา ช่วงนี้มีปัญหาไปหมดเพราะภัยแล้ง

          “ไทยที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจึงอยู่ในฐานะต้องปรับตัว หาวิธีการนำวัตถุดิบทางเลือกมาทดแทน แล้วต้องได้คุณค่ามีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับด้วย นับเป็นโจทย์ท้าทายภาคปศุสัตว์อย่างมาก นอกเหนือจากปัญหาโควิดระบาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ขาดทุนหลักพันล้านบาท รายเล็กขาดทุนหลักร้อยล้านบาท”

          “ลูกไก่มีราคาแพงทำให้ต้องลดปริมาณการเลี้ยง ซ้ำเติมด้วยปัญหาราคาน้ำมันขึ้นราคา ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เสียโอกาสการส่งออกช่วงไฮซีซั่นในอียู ญี่ปุ่น จีน ที่มีความต้องการเนื้อไก่สูงมาก”

          นางฉวีวรรณ กล่าวต่อว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือโดยการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกรณีเกิดการระบาดไข้หวัดนกเมื่อปี 2547 ที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เห็นชอบปล่อยกู้ 15,000 ล้านบาท รวมทั้งรัฐบาลควรลดกำแพงภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้

          ด้าน นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงเกิดขึ้นก่อนจะมีสงคราม 30-40% แต่สงครามทำให้ราคาแพงขึ้นไปอีก วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดไม่ได้นำเข้าก็ปรับแพงตามไปด้วย เกษตรกรต้องปรับตัว ระมัดระวังการเลี้ยงและติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด อะไรสามารถลดต้นทุนได้ก็ต้องทำ ที่สำคัญราคาไข่ไก่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด รัฐไม่ควรคุมราคา

          นายกชกร วัชราไทย เจ้าของลุงเชาวน์ฟาร์ม กล่าวว่า การเลี้ยงโคเนื้อ ไม่สามารถใช้วัตถุดิบอาหารที่มีคุณภาพต่ำได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสะท้อนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภค หากผู้บริโภคไม่เข้าใจก็จำเป็นต้องลดการผลิตลง เพื่อป้อนตลาดพรีเมียมที่เข้าใจสถานการณ์เท่านั้น

          นายธนาธิป อุปัติศฤงศ์ อดีตเอกอัคราชทูตประจำกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย กล่าวว่า การค้าระหว่างไทยกับรัสเซีย ปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ ในสินค้าพลังงาน ปัจจัยทางการเกษตรและวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งไทยยังเป็นฝ่ายขาดดุล ในขณะที่กับยูเครนมีมูลค่าการค้าประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ในสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์

          แม้เป็นอัตราที่ไม่มาก แต่ยูเครนเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์ของโลก เมื่อการซื้อขายและคมนาคมหยุดชะงัก ทำให้ตลาดวัตถุดิบป่วนและราคาปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าสงครามจะไม่ยืดเยื้อและจบภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยยูเครนจะเป็นฝ่ายยอมเจรจา ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาราคาวัตถุดิบคลายลง

          นายเสกสม อาตมางกูร นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ปัญหาอาหารสัตว์ราคาแพงอาจจะยาวไปถึงปี 2566 ซึ่งเป็นผลจากสงคราม ภัยแล้ง และราคาน้ำมัน อีกทั้งการนำเข้ายังมีปัญหากำแพงภาษี 2% ของการนำเข้ากากถั่วเหลือง การนำเข้าข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีการกำหนดช่วงเวลา และการนำเข้าข้าวสาลี ยังมีกำแพงเรื่องอัตราส่วน 3 ต่อ 1

          ดังนั้น ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องปรับตัวหันมาใช้วัตถุดิบทดแทนในประเทศ ปรับสูตรอาหาร ลดการสูญเสีย การตกหล่นต่างๆ เพื่อลดต้นทุน ทบทวนการเก็บสต๊อก สร้างไซโลตามความเหมาะสมของฟาร์ม ในอนาคตคาดว่าผู้เลี้ยงสัตว์จะปรับเปลี่ยนมาใช้อาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่จะมีความสามารถต่อรองราคาซื้อวัตถุดิบ และเช็กคุณภาพได้ดีกว่า ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องนำมาทบทวน

ที่มา : ข่าวสด 09-03-2022

 
 
บริษัท อโกรเมด จำกัด 283 - 285 ถ. เพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 โทร. (02) 809-7254-9 โทรสาร. (02) 809-7260
AGROMED CO., LTD. 283 – 285 PETCHKASEM ROAD , NONGKANGPLU , NONGKEAM , BANGKOK 10160 E-mail : support@agromed.co.th
Copy All Right Reserved 2012 By. agromed.co.th
Creator By cw.in.th